หน้าแรก » Posts tagged 'Objectives of Islamic Law'

Tag Archives: Objectives of Islamic Law

ความเข้าใจการปฎิบัติด้าน “ศาสนพิธี” ในอิสลาม

มีหลายคนยังเข้าใจว่าการประกอบ “ศาสนพิธี” หรือ “อีบาดะฮ์”  จำเป็นต้องยึดติดกับ “การปฏิบัติของบรรพบุรุษ” หรือ “ความคิดเห็น-คำวินิจฉัยของผู้รู้ (อูลามะฮ์)” ก็เพียงพอและถูกต้อง ความเข้าใจลักษณะนี้ได้ซึมซับลงไปใน “จิตใต้สำนึก” ของมุสลิมหลายคน จนยากที่จะศึกษาและเข้าใจถึง “โครงสร้างพื้นฐาน” ในการปฎิบัติศาสนกิจของไทยมุสลิม

หลักการพื้นฐานของศาสนพิธีในทุกศาสนามีความคล้ายคลึงกันในแ่ง่ของ”ความคงที่”ของการปฎิบัติศาสนพิธี เช่น พิธีกรรมการสวด การเคารพบูชาพระเจ้า/สิ่งศักดิ์สิทธ์ เป็นสิ่งที่”คงอยู่” ตั้งแต่การเกิดศาสนาใดศาสนาหนึ่งมาจนถึงปัจจุบัน และพิธีกรรมเหล่านั้นไม่มีความจำเป็นในการพัฒนาตามกาลเวลาและสถานที่

ในอิสลาม หลักการในการทำความเข้าใจ “การประกอบศาสนพิธี” หรือเราอาจจะเรียกว่า ศาสนกิจ หรือ “อีบาดะฮ์ ล้วนเป็นตัวแทนความเ้ข้าใจเดียวกัน หลักการนี้คือ การอ้างอิงไปสู่ “ตัวบทดั้งเดิม” และทำความเข้าใจตัวบทนั้นๆ จากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) บรรดาสาวกของท่าน และจากบรรดาผู้รู้ (อูลามะฮ์) ทั้งหลาย

อีกประการหนึ่ง การปฎิบัติด้านศาสนพิธี/อีบาดะฮ์ เป็นสิ่งที่ “คงที่” “ไม่เปลี่ยนแปลง” “ไม่ต้องการการคิดค้นใหม่ๆ” “ไม่ต้องพัฒนา” และยึดติดกับการปฎิบัติเหมือนดั่งการปฎิบัติของศาสดาเท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่าการปฎิบัติอะไรก็ตามที่เป็น “ศาสนพิธี” เช่น การละหมาด การขอพร การถือศีลอด การทำฮัจย์ จำเป็นต้องย้อนกลับไปมองที่ “ท่านศาสดา (ศ็อลฯ)” หรือ “ตัวบท” ว่าด้วยการปฎิบัติศาสนกิจ หาใช่การอ้างไปสู่ “บรรดาผู้รู้ (อูลามะฮ์) เท่านั้น”

อยากจะเสริมประเด็นเืรื่อง อูลามะฮ์ เพื่อความเข้าใจที่กระจ่างขึ้น เราต้องเข้าใจว่า “สถานะ” หรือ “บทบาท” ของ อูลามะฮ์ คือ หนึ่งใน “เครื่องมือ” ในการทำความเข้าใจการปฎิบัติของท่านศาสดา …เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของ “วิธีการ” “กระบวนการ” หรือ “วิถี” (Means) ในการเข้าใจ ไม่ใช่ “ผลลัพธ์” “เป้าหมาย” “เจตนารมณ์” หรือ “ข้อสรุป” (Ends) ของกระบวนการทำความเข้าใจ ดังนั้นเราไม่สามารถยึดติดกับ “ข้อคิดเห็น” “ทัศนะคติ” หรือ “คำวินิจฉัย” (Fatwa, Ijtihad) ของบรรดาผู้รู้คนหนึ่งคนใด หรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดได้ หากแต่เราต้อง “เปิดหูเปิดตา” ในการทำความเข้าใจแบบ”องค์ประกอบรวม” ด้วยการเข้าใจ “เป้าหมายของตัวบท” และ “เจตนารมณ์ของพระเจ้า” ไปพร้อมๆ กัน และนั่นจะเป็นวิธีองค์รวมที่สอดคล้องกับหลักการและเป้าหมายการมีอยู่ของอิสลามที่เป็นสากล

สุดท้ายนี้ จึงขอนำมาซึ่งข้อสรุปดังต่อไปนี้

  1. การปฎิบัติศาสนพิธี เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นในยุคไหน สถานที่ใดก็ตาม
  2. ในการปฎิบัติศาสนกิจ “วิธีการ” และ “เป้าหมาย” เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ถ้าเปลี่ยนแปลงกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า อุตริกรรม หรือ “บิดอะฮ์”
  3. หลักฐานการอ้างอิงและการปฎิบัติ จำต้องย้อนกลับไปสู่ อัลกุรอานและการปฎิบัติหรือแบบอย่างของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เท่านั้น
  4. การอ้างอิงการวินัจฉัย (อิจตีฮาด) ของบรรดาผู้รู้ ไม่ใช่ “ข้อยุิติ” ในปัญหาด้านอิบาดะฮ์ (ศาสนพิธี) เพราะการอนุญาติด้านพิธีกรรมทางศาสนาต้องมาจาก “พระเจ้า (อัลลอฮ์)” และ ท่านศาสดา เท่านั้น
  5. การอนุญาติให้กระทำที่มาจากบรรดาผู้รู้ทั้งหลายในด้านศาสนพิธี ไม่สามารถนำมาเป็น “กฎเกณฑ์” หรือ “กฎทั่วไป” ในการอนุญาติในปฎิบัติได้ แต่อาจจะเป็นการอนุญาติเป็น “รายเฉพาะ” หรือเป็น “กฎแบบแยกส่วน” หรือ  “กฎเฉพาะด้าน” ในการแก้ใขปัญหาหรืออุปสรรคในการปฎิบัติศาสนกิจในบางท้องที่/เวลา/สถานการณ์ เท่านั้น และไม่ได้เป็น “กฎเกณฑ์” แต่อย่างใด

หมายเหตุ ที่กล่าวมาเป็นการกรองมาจาก “ตัวบท” และสามารถย้อนกลับถึงการปฎิบัติและเข้าใจที่ชัดเจนของบรรดาคอลีฟะฮ์ผู้ทรงธรรมทั้งสี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความเข้าใจของท่านอุมัร (คอลีฟะฮ์คนที่ ๒)

ตัวบทหลักฐานจะนำมาเพิ่มเติมในลำดับต่อไป

ด้วยสลาม